วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

การส่งข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับการสนับสนุน งบประมาณ ประจำปี 2558


นักวิจัยส่งข้อเสนอโครงการวิจัย ผ่านระบบ NRPM และส่งเอกสารข้อเสนอ
โครงการวิจัยฯ ผ่านหน่วยงานต้นสังกัด จำนวน 4 ชุด ที่มีลายมือชื่อหัวหน้า
โครงการวิจัย และผู้ร่วมวิจัย มายัง สวพ. ภายในวันที่ 31 ก.ค. 2556

สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://www.ird.rmutt.ac.th/?page_id=370


วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงการเสนอแนะ“วิถีความยั่งยืนของงานหัตถกรรมไทย” บนหนทางแบบมหรสพไทย ผ่านงานสถาปัตยกรรมจำลอง


โครงการเสนอแนะวิถีความยั่งยืนของงานหัตถกรรมไทย
บนหนทางแบบมหรสพไทย ผ่านงานสถาปัตยกรรมจำลอง
Proposal of Sustainable Thai Arts and Crafts in Dramatic Thai Architecture Way

ณัฏฐกฤษฏ์ ศุภกรพินธคุปต์
Nattakrist Supakornpinthakoopt



บทคัดย่อ

      ปัจจุบันกระแสการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย กำลังเพิ่มพูนอย่างมาก หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ  และเอกชน ต่างตระหนักและให้ความสำคัญ  แต่ที่พยายามส่งเสริมกันนั้นเป็นลักษณะต่างคนต่างทำเป็นส่วนมาก โครงการเสนอแนะ วิถีความยั่งยืนของงานหัตถกรรมไทย บนหนทางแบบมหรสพไทยผ่านงานสถาปัตยกรรมจำลอง มีเป้าหมายเพื่อสะท้อนภาพรวมของวัฒนธรรมไทยที่แฝงไว้ซึ่งภูมิปัญญาและวิถีชีวิตไทย โดยนำเสนออย่างเป็นองค์รวม คือบูรณาการทั้งแนวคิดพื้นฐาน ปรัชญาสู่ความเป็นรูปธรรม มีความเป็นไปได้ในแง่ของการจัดการ การบริหารให้เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมเมือง  โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่รัฐบาลกำลังผลักดันอยู่
         การเก็บข้อมูลภาคสนามตั้งแต่ พ.ศ.2543 จำนวนกว่า 14 ชุมชน เช่น บ้านช่างหล่อ, บ้านบาตร, บ้านพานถม, บ้านบุ, ถนนตีทอง (ทองคำเปลว), บ้านไม้แกะสลัก, บ้านช่างทอง, บ้านดอกไม้, บ้านครัว ฯ. ข้อมูลจากเอกสาร กอปรกับการทำกรณีศึกษาที่ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย จ.นครปฐม และเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ ทำให้รวบรวมข้อมูลวิชาช่างได้มากกว่า 27 แขนง ซึ่งถือเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าในอนาคต เนื่องจากวิชาช่างและหลักฐานที่ได้มา บางแห่งแทบจะสูญหายไปหมดสิ้น ปรากฏไว้แต่เพียงชื่อสถานที่เท่านั้น
          ผลงานสุดท้าย คือการแปลงข้อมูลข้างต้นเป็นจินตภาพ  หรือภาพสะท้อน ( Reflection ) จำลองวิถีชีวิตทั้งลักษณะการทำงานของช่าง เครื่องมือ อุปกรณ์ การแต่งกาย การกินอยู่ ฯ. ผนวกเข้ากับปรัชญาแนวคิดจากแรงบันดาลใจ  เช่น  การสมมติเมืองจำลอง การแสดงละครที่เปลี่ยนฉากได้ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เล่าเรื่องราวแห่งวิถีชีวิตไทย ซึ่งรวบรวมไว้มากมาย เป็นต้น ก่อเกิดเป็นนิมิต ( Imagination) อันนำไปสู่แนวความคิดในการออกแบบ ( Conceptual Design ) และการออกแบบสถาปัตยกรรม ( Architectural Design ) เป็นลำดับ
          บทสรุปของงานออกแบบ คือความผสมผสานของงานสถาปัตยกรรมไทย หลายระดับชั้น (ชนชั้นในอดีต) อาทิ บ้านเรือนของชาวบ้าน เรือนแพ ร้านค้า สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับวัด พระมหากษัตริย์ ตลอดจนสถาปัตยกรรมร่วมสมัยและองค์ประกอบย่อย ๆ ได้แก่ สะพานข้ามคลอง ศาลาท่าน้ำ เรือแจว เรือสำปั้น ฯ. ทั้งหมดถูกจัดวางเพื่อถ่ายทอดบรรยากาศแห่งวิถีชีวิต ภูมิปัญญาของวัฒนธรรมไทย โดยอาศัยหมู่บ้านช่างเป็นแกนกลาง ฉะนั้นโครงการนี้จึงเปรียบเสมือนการแสดงละคร โดยจำลองสถาปัตยกรรมเป็นฉาก และช่างเป็นตัวละคร และให้นิยามว่า มหรสพทางวัฒนธรรมไทยเชิงสถาปัตยกรรม ขับขานอดีตแห่งวิถีไทยและศิลปหัตถกรรมไทย (Dramatic Thai Architecture)
คำสำคัญ : หัตถกรรมไทย/วัฒนธรรมไทย/วิถีไทย/ภูมิปัญญาไทย/สถาปัตยกรรมไทย/บางกอก
ABSTRACT

    In present day, the trend of restoration and conservative Thai culture is one of the main steam that has been growing up very faster.  It has been received supports from many government and business organizations, however, those supports do not possibly cooperates. This Proposal of Sustainable Thai Arts and Crafts in Dramatic Thai Architecture Way , aims to reflect the whole views of Thai culture that include with Thai wisdom and ways of life.  It is presented by the integration of basic idea: philosophy concept to realism.   There is a possibility in management.  The administation is suitable for economic and social condition of Thai urban, especially, in Thai cultural tourism which is being pushed up by Thai government.
The collected field data had started in the year of 2000 in more than 14 communities such as Ban Chang Lor (Founders), Ban Bart (Hammered alms bowls), Ban Phanthom (Nielloware), Ban Bu (Stone-polished Bronze Wares), Tee Thong Street (Gold Foil), Wood Carving of Bamrungmeung, Gold Treasures of Chakrabhongse, Ban Dokmai (Fireworks), Ban Khrua (Woven Textiles) etc., included with the documentation, the case study of Thai Arts and Crafts Centre, Nakhon Pathom and the Ancient City, Samut Prakan.  This can collect more than 27 fields of craft man skill data, which will be valuable in the future.  This is because there are some collected craft man fields and evidances which are left only the names of their places.
The final process of this thesis was to modify the above information into imagination, and reflection of the way of life of the craft man, his tools, dress and consumes etc, additional with philosophy idea that accumulates from inspiration such as “Model City” in foreign countries, “Changing Stage drama”, “Mural Painting” that narrates Thai way of life etc.  Imagination is risen and it brings to the conceptual design and architectural design.
The conclusion of design work is the collage of Thai architecture in varied classes (in the past), such as traditional Thai houses, raft houses, shop houses, architecture for temples and Royal along to contemporary architecture and small composition such as wooden bridges, canal side– sala, paddle boats, boats houses, etc.  All were arranged in order to see the atmosphere of ways of life and the intellect of Thai culture, by having the craft man village as the core center.  Therefore, this project is like a dramatic play in which there are the reproduced architecture as a scene and the craft man as a character.  Finally it is defined as “An Amusement in Thai Culture by Architecture, Singing the Past of Thai Ways of Life and Handicraft”, and it is called “Dramatic Thai Architecture”. 

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การศึกษาเทคนิคการก่อสร้างไม้ไผ่เพื่อออกแบบอาคารทางการเกษตร : โรงเรือนปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

การศึกษาเทคนิคการก่อสร้างไม้ไผ่เพื่อออกแบบอาคารทางการเกษตร :  โรงเรือนปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
 
                                                                                       โดย นางสาวนฤมล   แสนเสนา